ประเพณีและวัฒนธรรม จังหวัดปัตตานี
ประเพณีและวัฒนธรรมของปัตตานีมีความเก่าแก่และได้รับอิทธิพลจาก ศาสนาฮินดู พุทธ อิสลาม และจากจีน
ประเพณีชักพระณ สนามที่ว่าการอำเภอ
เป็นการที่ชาวอำเภอโคกโพธิ์และอำเภอใกล้เคียงจะชักลากเรือพระ ที่ตกแต่งอย่างสวยงามจากวัดต่างๆ มีการฟ้อนรำหน้าเรือพระมีการนมัสการเรือพระพร้อมกับถวายภัตตาหารพระภิกษุสามเณร เป็นเวลา 5 วัน 5 คืน
ประเพณีแห่นก
เป็นขบวนแห่ที่ใช้ในงานเทศการเฉลิมฉลอง หรืองานมงคลทั่วไป โดยจะใช้ในการแห่ต้อนรับแขกสำคัญๆต่างๆ
งานฮารีรายอ หรืองานฉลองการเลิกถือศีลอดของชาวไทยมุสลิมมัสยิดกลาง
ประเภณีของแต่ละปี จังหวัดปัตตานี
จัดขึ้นหลังจากการเลกถือศีลอดชาวไทยมุสลิมในปัตตานีจะไปชุมนุมกัน เพื่อประกอบพิธีทางศาสนาอิสลาม หลังจากนั้นจะมีงานมหรสพฉลองอย่างครื้นเครง
งานฉลองเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว
จัดขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนอ้าย ตามจันทรติของจีนคือหลังวันตรุษจีน 15 วันของทุกปี มีขบวนแห่เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวและรูปพระอื่นๆ และตามด้วยขบวนแห่ต่างๆ มีการลุยไฟและแสดงอภินิหารต่างๆ โดยผู้ร่วมพิธีจะต้องถือศีลกินเจอย่างน้อย 7 วันก่อนทำพิธี มีการเซ่นไหว้และเฉลิมฉลอง
งานแห่พระอีก๋ง หรือแห่เจ้าพ่อเล่าเอี่ยกงณ ศาลเจ้าบางตะโละ หรือบริเวณศาลเจ้าแห่งใหม่ในเขตเทศบาลตำบาลตำบลตะลุบัน(ผลัดกันจัดงานในแต่ละปี)
ในงานมีการจัดขบวนแห่รูปแกะสลักไม้เป็นรูปพระเจดีย์เจ้าพ่อเล่าเอี่ยกงและบริวาร
ประเพณีลาชังตำบลควน อำเภอปะนาเระ
ประเพณีนี้จะจัดขึ้นประมาณเดือน 5 หรือเดือน 6 มีการทำหุ่นฟาง ชาย-หญิงจับคู่กัน แล้วจัดขบวนแห่ไปวางไว้บนศาลเพียงตาพร้อมทั้งเครื่องสังเวย
งานแข่งขันกีฬาตกปลาสายบุรีชายหาดวาสุกรี
จัดขึ้นทุกวันเสาร์และอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคมของทุกปี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น